window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag() { dataLayer.push(arguments); } gtag('js', new Date()); gtag('config', 'G-CBGDY77RP9');

เช็กชีวิต! คุณเป็นโรคติดสมาร์ตโฟนหรือเปล่า?

ตอนนี้
          โดยเฉพาะ “สมาร์ตโฟน” เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์เราแทบทุกอย่าง  จนบางครั้งทำให้เรารู้สึกขาดมันไม่ได้แม้แต่วันเดียว ซึ่งอาการนี้มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า โรคโนโมโฟเบีย (Nomophobia) ค่ะ หรือพูดง่ายๆ คือเป็นโรคขาดมือถือไม่ได้นั่นเอง แต่อาการขนาดไหน ถึงจะเรียกว่าเข้าข่ายโรคนี้ ก็ต้องดูหลายๆ อย่างประกอบกันนะคะ ซึ่งคุณสามารถสำรวจตัวเองได้จากพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนที่ “มากเกิน” จนผิดปกติ   
 
          ก่อนอื่นเรามารู้กันก่อนดีกว่าว่าโรคนี้มีความเป็นมาอย่างไร โดย Nomophobia ย่อมาจากประโยคเต็มๆ ที่ว่า “no mobile phone phobia”  เป็นศัพท์ที่ YouGov องค์การวิจัยของสหราชอาณาจักรบัญญัติขึ้นเมื่อปี 2008 เพื่อใช้เรียกอาการที่เกิดจากความ หวาดกลัวจากการขาดโทรศัพท์มือถือเพื่อติดต่อสื่อสาร และจัดเป็นโรคจิตเวชประเภทหนึ่ง ที่อยู่ในกลุ่มวิตกกังวลด้วยนะคะ  
 
          ความก้าวหน้าของยุคดิจิตอล ทำให้เกือบทั่วทุกมุมโลกต่างก็ใช้สมาร์ตโฟน ในชีวิตประจำวัน  ติดตัวตลอดราวกับเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย ด้วยเหตุนี้ โรคนี้เลยอาจจะเกิดขึ้นโดยเพื่อนๆ ไม่รู้ตัว ถ้าอย่างนั้นลองมาสำรวจตัวเองกันหน่อยดีกว่า ว่าคุณเข้าใกล้โรคโนโมโฟเบียมากน้อยแค่ไหน?
 
 
พฤติกรรมเหล่านี้ มีแนวโน้มเป็น “โนโมโฟเบีย”
 
1. พกโทรศัพท์มือถือติดตัวตลอดเวลา กระวนกระวาย หงุดหงิด ถ้ามือถือไม่ได้อยู่กับตัว 
2. หมกมุ่นอยู่กับการอัพเดทข้อมูลในสมาร์ตโฟน แม้ไม่มีเรื่องด่วน ก็หยิบขึ้นมาดูแทบตลอดเวลา
3. คุณจะให้ความสำคัญเสียงเตือนโทรศัพท์เป็นอันดับแรก หยิบดูทันที รอไม่ได้ ภารกิจที่กำลังทำจะถูกพักไว้ก่อน ถ้าไม่ได้หยิบดูในทันทีจะขาดสมาธิในการทำภารกิจที่ค้างอยู่ 
4. ตื่นนอนปุ๊บ! หยิบสมาร์ตโฟนเป็นอันดับแรก ก่อนนอนก็ยังหลับไปกับการเล่นสมาร์ตโฟน
5. เล่นโทรศัพท์ประกอบการทำกิจกรรมอื่นในชีวิตประจำวัน เช่น ระหว่างทานข้าว เข้าห้องน้ำ ขับรถ หรือระหว่างนั่งรอรถเมล์ ขึ้นรถไฟฟ้า
6. กลัวโทรศัพท์ตัวเองหาย แม้ว่าจะวางอยู่ในที่ที่ปลอดภัยแล้วก็ตาม
7. ไม่เคยปิดโทรศัพท์มือถือเลย 
8. ใช้เวลาพูดคุยกับเพื่อนในโลกออนไลน์มากกว่าคุยกับเพื่อนที่อยู่ตรงหน้าเสียอีก
9. ลองตั้งใจจะไม่เล่นมือถือสัก 1 ชั่วโมง แต่ไม่สามารถทำได้ ต้องหยิบมือถือขึ้นมาเล่นทุกทีสิ
 
เป็นไงบ้างคะ คิดว่าตัวเองมีแนวโน้มเป็นโรคโนโมโฟเบีย หรือยังเอ่ย?  โรคนี้เป็นแล้ว ไม่ได้จบอยู่ที่โรคเดียวนะคะ ยังนำพามาซึ่งโรคต่างๆ ที่ทำให้ร่างกายเราลดประสิทธิภาพลงอีกด้วย 
 
สารพัดโรคตามมา จาก “โนโมโฟเบีย” 
 
นิ้วล็อก
นิ้วชา ปวดข้อมือ เส้นเอ็นข้อมืออักเสบ อาการพวกนี้เกิดจากการใช้มือกด จิ้ม สไลด์หน้าจอติดต่อนานเกินไป ยิ่งถ้ารู้สึกว่านิ้วมือเริ่มแข็ง กำแล้วเหยียดขึ้นไม่ได้ ต้องรีบไปพบแพทย์แล้วหล่ะค่ะ
 
อาการทางสายตา
สายตาล้า  ตาแห้ง เพราะเพ่งสายตาจ้องหน้าจอเล็ก ๆ นานเกินไป ซึ่งนาน ๆ เข้าจะทำให้จอประสาทตาและวุ้นในตาเสื่อมได้
 
ปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ 
เกิดจากเวลาเล่นโทรศัพท์ที่เรามักก้มหน้า ค้อมตัวลง ทำให้คอ บ่า ไหล่ เกิดอาการเกร็ง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก หากเล่นนาน ๆ อาจมีอาการปวดศีรษะตามมา
 
หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร 
จากการนั่งผิดท่า นั่งเกร็งเป็นเวลานาน ๆ และทำเป็นประจำจนเป็นนิสัย หากเป็นหนักจนมีอาการปวดมาก ๆ อาจต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
 
โรคอ้วน 
แม้ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้สมาร์ตโฟนนาน ๆ โดยตรง แต่ถ้าติดสมาร์ตโฟนมาก ชนิดเล่นทั้งวันไม่ลุกไปทำกิจกรรมอื่นๆ เลย ร่างกายก็ไม่ได้เผาผลาญพลังงานเท่าที่ควร อาหารที่ทานเข้าไปก็จะแปรเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่ช้าโรคอ้วนก็คงจะถามหาแน่นอนเลยหล่ะ 
 
ภาพถ่ายโดย Porapak Apichodilok จาก Pexels
Healthy Gamer