window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag() { dataLayer.push(arguments); } gtag('js', new Date()); gtag('config', 'G-CBGDY77RP9');

การติดเกมคอมพิวเตอร์ของเยาวชนไทย

การติดเกมคอมพิวเตอร์ของเยาวชนไทย
ตอนนี้

 

 

 

 

 

จากการสำรวจครั้งล่าสุด พบว่า เยาวชนไทยกว่า 3 ล้านคนมีภาวะติดเกมออนไลน์ ซึ่งส่งผลให้ผู้ปกครองเกิดความกังวลในด้านสุขภาพและพฤติกรรมของเด็กหล่านั้น
 
 
จากโครงการ “เด็กไทยกับไอที” ในงาน Thailand Game Show festival ซึ่งจัดขึ้นที่สยามพารากอน ระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา
 
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญวิทย์ พรนภดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า กรมสุขภาพจิต ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ได้สำรวจเยาวชนมากกว่า 200 คนทั่วประเทศ โดยการสัมภาษณ์ในช่วงเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน ปี 2556 พบว่า...
 
เยาวชนไทย จำนวน 15% ติดเกมออนไลน์
 
 
 
ประเทศไทยมีเยาวชนประมาณ 18 ล้านคน เมื่อเทียบอัตราส่วนของเยาวชนติดเกมออนไลน์แล้วพบว่า สูงถึง 2.7 ล้านคนเลยทีเดียว
 
นักวิจัย ระบุว่า จำนวนดังกล่าวนั้นสูงมากและน่าตกใจที่อัตราสูงกว่าเยาวชนที่ติดเกมคอมพิวเตอร์อีก ทั้งยังกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของเยาวชนในกลุ่มดังกล่าวด้วย
 
 
 
ยิ่งไปกว่านั้น เยาวชนที่ติดเกมออนไลน์ มักไม่ทำตามกติกา โดดเรียนและพักผ่อนไม่เพียงพอ ผลการเรียนตก ละเลยการทำกิจกรรมอื่นๆ และอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
 
หากพบว่าเยาวชนมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปและมีอาการขั้นรุนแรง เยาวชนเหล่านั้นจำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือ และรับการรักษา แต่มีเพียงเยาวชน 30-40 ราย/ปี เท่านั้นที่เข้ามารับการรักษา และเหตุผลที่มาพบแพทย์ เนื่องจากไม่รู้จะพาเด็กไปรับการรักษาที่ใดได้บ้างและไม่รู้จะจัดการปัญหานี้ได้อย่างไร
 
การรักษาอาการติดเกมนั้นค่อนข้างคล้ายคลึงกับการรักษาอาการติดยาเสพติด โดยในการติดยาเสพติดนั้น คนส่วนใหญ่ค่อนข้างตระหนักถึงผลกระทบทางด้านร่างกายอย่างชัดเจน ในขั้นแรกของการรักษา แต่สำหรับการเสพติดเทคโนโลยีต่างๆ นั้น ส่งผลต่อจิตใจ ซึ่งก็มีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี จึงต้องนำส่วนดีของบุคคลออกมาส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้น เพื่อใช้เป็นปัจจัยป้องกัน โดยวิธีการที่ดีวิธีหนึ่งและทำให้สามารถช่วยเหลือการติดเกมได้ดี คือ การดูแลเอาใจใส่กันในครอบครัว
 
รศ. นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล กล่าวถึงสังคมในปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมก้มหัวและสนใจแต่หน้าจอโทรศัพท์มือถือ จนละเลยบุคคลรอบข้าง แม้กระทั่งใช้ขณะเดินบนถนน ในที่สาธารณะหรือแม้กระทั่งขณะเดินทาง อาการต่างๆเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า บุคคลเหล่านั้นเสพติดเทคโนโลยีมากเกินไปจนเปรียบเสมือนว่า เทคโนโลยีต่างๆ ถือเป็นอวัยวะที่ 33 ไปเสียแล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เทคโนโลยีก็มีข้อดีที่เรามิอาจปฏิเสธได้ แต่ผู้ปกครองต้องคอยชี้ให้เยาวชนรู้จักควบคุมการใช้ให้เหมาะสม รู้จักแยกแยะว่าสิ่งใดดีและสิ่งใดไม่ดี
 
 
ยิ่งไปกว่านั้น อาจนำกิจกรรมอื่นๆที่น่าสนใจมาดึงให้เยาวชนห่างไกลจากจอคอมพิวเตอร์ และหันไปทำกิจกรรมที่เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์
 
รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล 
(สาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 
 
ขอขอบคุณ.. 

แปลโดย >> JaH_K..S

 
 
Healthy Gamer