window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag() { dataLayer.push(arguments); } gtag('js', new Date()); gtag('config', 'G-CBGDY77RP9');

เอเชียจ่ายหนัก โรคเสพติดเทคโนโลยีระบาด

เมื่อ 2 ปีที่แล้ว

 

คนเอเชียตอนนี้ต้องจ่ายราคาแพงมากสำหรับการเสพติดเทคโนโลยีด้วย ยอดขาย สมาร์ทโฟนปีละกว่า 100 ล้านเครื่องในเอเชีย-แปซิฟิก และคาดว่าตัวเลขจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายใน 5 ปี ภูมิภาคนี้จึงถือเป็นตลาดอุปกรณ์มือถือขั้นสูงใหญ่ที่สุดของโลก
 
และขณะที่เว็บไซต์เครือข่ายสังคม และเกมบนมือถือกำลังฮิตหนัก หนุ่มสาวเอเชียจำนวนมากค้นพบว่าตัวเองเริ่มมีปัญหาเมื่อไม่มีอุปกรณ์ไฮเทคใน มือหรือมีคอมพิวเตอร์ในรัศมีที่สามารถใช้ได้ทันใจ
 
"ฉันไม่เถียงถ้าใครจะว่าฉันว่าติดเทคโนโลยี" ฮันนา รัสลานานัก ศึกษาสาวจากมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ที่สนิทสนมกับเพื่อนสมัยโรงเรียนผ่าน ทวิตเตอร์มากกว่าเพื่อนในมหาวิทยาลัย บอก
 
เธอเช็คไอโฟนอย่างน้อยทุก 15 นาที และมีบัญชีเฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, โฟร์สแควร์ และลิงด์อินถ้าทวิตเตอร์นิ่งไป ฮันนาและเพื่อนจะเฝ้ารออย่างกระสับกระส่ายกระนั้น กรณีของฮันนายังถือว่าเบาเมื่อเทียบกับโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในเกาหลีใต้ หนึ่งในประเทศที่สังคมเชื่อมต่อกับระบบอิเล็กทรอนิกส์แน่นหนาที่สุด
 
เดือนธันวาคมปีที่แล้ว แม่คนหนึ่งถูกจับข้อหาฆ่าลูกชายวัย 3 ขวบเนื่อง จากเหนื่อยล้าจากการเล่นเกมอินเทอร์เน็ตหนึ่งเดือนก่อนหน้านั้น เด็กชายวัย 15 ปีฆ่าตัวตายหลังจากฆ่าแม่ที่บ่นว่าเรื่องที่เขาติดเกม
 
เดือนพฤษภาคม 2010 หนุ่มใหญ่ถูกจำคุก 2 ปีหลังจากทั้งตัวเองและภรรยาปล่อยให้ลูกสาววัยแบเบาะอดอาหารตาย เพราะมัวไปเลี้ยงลูกเสมือนในอินเทอร์เน็ต
 
ทางการโซลประเมินว่าจำนวนผู้ติดเว็บทั่วประเทศน่าจะ มีอยู่ราว 2 ล้านคนจากจำนวนประชากรทั้งหมดเกือบ 50 ล้านคนนับจากปีนี้ รัฐบาลจะแจกซอฟต์แวร์ฟรีสำหรับกลุ่มเสี่ยงเพื่อจำกัดเวลาในการท่องเว็บ
 
นอกจากนั้น รัฐสภายังกำลังพิจารณากฎหมาย ‘ซินเดอเรลลา' ที่จะห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีไม่ให้เล่นเกมออนไลร์ระหว่างเที่ยงคืนถึง 6 โมงเช้าที่สิงคโปร์ ผลสำรวจที่สอบถามความคิดเห็นนักศึกษามหาวิทยาลัย 600 คนเมื่อต้นปี พบว่า 88% ชอบสื่อสารผ่านอุปกรณ์ไฮเทคมากกว่าการพูดคุยแบบตัวต่อตัวกลุ่มตัวอย่างกว่า 40% ยังใช้เวลาวันละกว่า 4 ชั่วโมงกับโทรศัพท์มือถือ ทั้งนี้ อัตราการครอบครองโทรศัพท์มือถือของแดนลอดช่องอยู่ที่ 1.4 เครื่องต่อประชากร 1 คน และส่วนใหญ่เป็นโทรศัพท์ที่เล่นเว็บได้
 
โฮ ก็อกเหยิน ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ของโรงพยาบาลราฟเฟิลบอกว่า การติดเทคโนโลยีไม่ต่างจากการติดยาเสพติด ซึ่งจำเป็นต้องได้รับเยียวยาเป็นพิเศษ
 
ที่ญี่ปุ่นกระทรวงมหาดไทยเตือนว่าการติดเกมและโทรศัพท์มือถือของคนหนุ่มสาว อาจเพราะ นิสัยเฉื่อยชา รวมถึงบ่อนทำลายความสัมพันธ์ทางสังคมและสุขภาพ
 
ศูนย์ กิจการผู้บริโภคแห่งชาติของญี่ปุ่นกล่าวว่า มีผู้ขอรับคำปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับความกังวลกับเกมออนไลน์เพิ่มขึ้น จาก1,437 คนในปี 2009 เป็น 1,692 คนในปี 2010 หลายคนในจำนวนนี้เป็นเยาวชน
 
ที่ มาเลเซีย ประชาชนอ้าแขนรับเว็บไซต์เครือข่ายสังคมอย่างกระตือรือร้นจากการศึกษาที่ เปิดเผยโดยบริษัทวิจัยระดับโลก ทีเอ็นเอส เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว พบว่าคนมาเลย์เป็นคนที่สังคมจัดที่สุดบนอินเทอร์เน็ต โดยแต่ละคนมีเพื่อนออนไลน์เฉลี่ย 233 คน เทียบกับ 68 คนในจีน และ 29 คนในญี่ปุ่น
 
ศูนย์ ศาสตร์การเสพติด มหาวิทยาลัยมลายา เผยว่ามีผู้ขอรับความช่วยเหลือราว 50 คนตอนที่เริ่มศึกษาการเสพติดเครือข่ายสังคมเฟซบุ๊กในปี 2009 และเพิ่มเป็น 70 คนเมื่อปีที่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น
 
Healthy Gamer