window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag() { dataLayer.push(arguments); } gtag('js', new Date()); gtag('config', 'G-CBGDY77RP9');

สอนเด็กให้รู้ทันโซเชียลมีเดีย

สอนเด็กให้รู้ทันโซเชียลมีเดีย
เมื่อ 8 เดือนที่แล้ว

สอนเด็กให้รู้ทันโซเชียลมีเดีย

 

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ปัจจุบันโซเชียลมีเดียมีความสำคัญมากกับผู้คนทุกช่วงวัย โดยเฉพาะเด็กและวัยรุ่น ที่พวกเขาจะโพสต์สิ่งต่าง ๆ ลงในโซเชียลมีเดีย และมองว่าโลกออนไลน์เป็นพื้นที่ปลอดภัยที่ช่วยให้ผ่อนคลายและสร้างความสนุกกับพวกเขา

 

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประโยคที่ว่า “เหรียญยังมีสองด้าน” ก็ยังเป็นความหมายที่ชัดเจนว่า ทุกอย่างมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ในบทความนี้ จะบรรยายให้เห็นทั้ง 2 ด้านของโซเชียลมีเดีย และวิธีที่พ่อแม่จะดูแลลูกอย่างไร

 

"สิ่งที่ดีเกี่ยวกับการใช้โซเชียลมีเดียคืออะไร?"

  1. สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับเพื่อนและครอบครัว
  2. มีโอกาสติดต่อกับกลุ่มคนที่หลากหลายมากขึ้น
  3. เป็นอาสาสมัคร หรือเข้าร่วมรณรงค์ หรือองค์กรการกุศลต่าง ๆ
  4. เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ด้วยการแบ่งปันแนวคิด ดนตรี และศิลปะ
  5. พบปะผู้คนที่มีความสนใจเหมือนกัน
  6. สื่อสารกับครูและเพื่อน
  7. หาข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ
  8. เรียนรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
  9. ได้กำลังใจหรือได้รับแรงสนับสนุนเมื่อรู้สึกเศร้าหรือวิตกกังวล

 

เมื่อเด็กๆ มีความสุขกับการเล่นโซเชียล

อีกสิ่งที่พวกเขาจะต้องเผชิญกับโซเชียล คือ 

  • การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying) : การถูกแกล้งในโลกออนไลน์ที่เป็นความเสี่ยงสูงสุดในวัยรุ่นและส่งผลต่อสภาพจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า ที่เลวร้ายที่สุด คือ การฆ่าตัวตายทั้งผู้ถูกแกล้งและผู้แกล้ง

 

  • ความเสี่ยงเกี่ยวกับการโพสต์เรื่องส่วนตัวและความปลอดภัย : การโพสต์รูปถ่าย หรือใช้ชื่อจริง เปิดเผยวันเกิด หรือโพสต์ที่อยู่ รวมไปถึงการแชร์สถานที่ตำแหน่ง ที่ได้ไปอยู่ลงบนโลกออนไลน์ส่งผลให้พวกเขาเป็นเป้าหมายกับคนที่คิดไม่ดีกับพวกเขา

 

  • ความเสี่ยงต่อชื่อเสียง : รูปภาพ วิดีโอ และความคิดเห็นที่โพสต์ออนไลน์มักจะไม่สามารถเรียกคืนได้หลังจากที่ลงโพสต์ไปแล้ว สามารถส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและเป็นปัญหาได้ในอนาคต เช่น อาจารย์หรือบริษัทในอนาคตที่สามารถตรวจสอบประวัติได้

 

  • สุขภาพจิต: การใช้เวลากับโซเชียลมากเกินไป ส่งผลต่อสภาวะจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล ผลกระทบไม่ได้มาจากเวลาที่ใช้เท่านั้น แต่เป็นวิธีที่พวกเขาใช้มัน เช่น บางครั้งเด็ก ๆ จะเปรียบเทียบตัวเองกับคนในโซเชียล ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หน้าตา หรือไลฟ์สไตล์ในโซเชียล

 

  • เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมหรืออันตราย: เด็กอาจเห็นเนื้อหาหรือโฆษณาที่ไม่เหมาะสมกับวัย โฆษณามักจะสอดแทรกเนื้อหาความรุนแรง การทำร้ายตนเอง การเหยียด และการเลือกปฏิบัติต่อคนบางกลุ่ม มีข้อมูลที่เป็นเท็จหรือไม่ถูกต้องที่อาจทำให้เด็ก ๆ เข้าใจผิดและส่งผลเสียตามมา

 

  • การใช้เวลามากเกินไป: เด็กใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียมากเกินไป จนไม่มีเวลาพอที่จะทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำการบ้าน การอ่านหนังสือ การออกกำลังกาย การนอนหลับ และที่สำคัญคือการทำกิจกรรมกับครอบครัว ข้อสังเกตอย่างหนึ่ง ปัญหาในการใช้โซเซียลที่มากเกินไป คือ การใช้มันจนส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์หรือการทำงานหรือการเรียน

 

พอมาถึงตรงนี้ ผู้ปกครองอาจจะเริ่มกังวล ไม่อยากให้ลูกเล่นโซเซียลอีกต่อไป สิ่งสำคัญ คือ “การตระหนักรู้” เราไม่สามารถห้ามเด็กๆให้ห่างจากโซเชียลได้ แต่เราสามารถเคารพความเป็นส่วนตัวของลูก แต่ยังแน่ใจว่าพวกเขาปลอดภัยจากสังคมออนไลน์  โดย 

“พ่อแม่บอกลูกว่าสิ่งนี้สำคัญ ...”

  • “ใจเขาใจเรา” ทำให้ชัดเจนว่า พ่อแม่หวังว่าให้เขาปฏิบัติต่อคนอื่นด้วยความเคารพและไม่โพสต์ข้อความที่ทำร้ายหรือทำให้คนอื่นอับอาย เน้นย้ำพวกเขาว่า ให้เขาบอกพ่อแม่เสมอ หากเจอข้อความที่เป็นการคุกคามหรือถูกกลั่นแกล้งจากผู้อื่น
  • “คิดให้ดี ก่อนกดปุ่ม Enterเน้นย้ำกับลูกเสมอว่า สิ่งที่พวกเขาโพสต์สามารถส่งผลต่อเขาในภายหลังได้ เช่น สถานที่ที่เขาไปเที่ยว หรือ เบอร์โทรศัพท์อาจจะเป็นเป้าหมายให้คนไม่ดีนำข้อมูลไปทำสิ่งไม่ดี ลูกๆควรหลีกเลี่ยงการโพสต์ข้อมูลส่วนตัว และเน้นย้ำว่าทุกสิ่งที่พวกเขาทำ ทิ้ง “รอยเท้าบนโลกดิจิทัล” เอาไว้เสมอ ดังนั้น อย่าโพสต์หรือแชร์อะไรที่อาจส่งผลต่อตัวเองในอนาคต
  • “ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว” เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่คุณควรจะอธิบายให้ลูกๆเข้าใจ รวมไปถึงเน้นย้ำกับพวกเขาว่า ไม่ควรบอกรหัสผ่านกับใคร แม้แต่แฟนหรือเพื่อนสนิท
  • “อย่าเป็นเพื่อนกับคนแปลกหน้า” – ถ้าหนูไม่รู้จักพวกเขา อย่าเป็นเพื่อนกับพวกเขา- เป็นกฎง่ายๆและปลอดภัย ให้ลูกของเรารู้ว่าพวกเขาติดตามเพื่อนจะมีความสุขมากกว่าติดตามกับคนแปลกหน้า

 

ท้ายสุดแล้ว พวกเราอาจจะต้องยอมรับว่า โซเชียลมีเดียมีอิทธิพลต่อทุกคนเป็นอย่างมาก แต่เราอย่าให้มันควบคุมเรา สิ่งสำคัญ คือ ครอบครัวควรเป็นตัวอย่างที่ดี ในด้านการใช้โซเชียล หรือการจัดการเมื่อเจอสถานการณ์เลวร้ายในขณะที่เราเล่นโซเชียล จะช่วยให้เด็กๆ ได้เห็นภาพและเข้าใจง่ายขึ้นเมื่อเจอสิ่งต่างๆในโลกโซเชียลได้อย่างดีและปลอดภัย

 

เรียบเรียงโดย โสธิดา ผุฏฐธรรม

 

อ้างอิง

https://kidshealth.org/en/parents/social-media-smarts.html

.
ปรึกษาปัญหาการติดเกมผ่าน Line Chatbot ได้ที่ Line ID: @426wsfmp หรือกดที่นี่เพื่อแอดไลน์ https://bit.ly/HGchatbot
.
หรือทักแชทเพื่อพูดคุยกับนักจิตวิทยา ได้เลยที่ https://m.me/healthygamer

Healthy Gamer